5 เครื่องมือที่ใช้แก้ไขปัญหา Server down

เวลาเข้าหน้าเว็บไซตแล้วขึ้นว่า “website is not available” หรือ “URL was not found on this server” ขึ้น loading เป็นเวลานาน หรือไม่ก็พยายามเข้าเซิฟเวอร์ของแอพพลิเคชั่นแล้วเฟลอยู่บ่อย ๆ ปล่อยให้ความงงเข้าครอบงำว่า “เห้ยมันเป็นที่อะไรว่ะ??” คอมพิวเตอร์ เน็ตเวิร์ค เว็บไซต์ หรือว่าผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตกันแน่

ซึ่งหลาย ๆ ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของปัญหาเน็ตเวิร์คซึ่งมักจะค้นหา Root cause ของปัญหาได้ยากมาก แต่ข่าวดี!! คุณสามารถใช้เครื่องแก้ไขปัญหาด้าน Network ที่ช่วยให้คุณพิสูจน์ว่าปัญหามันอยู่ตรงไหน และสเตปต่อไปที่ควรจะเป็น ไม่ว่าคุรจะเป็นผู้ใช้งานธรรมดา หรือว่าเป็น IT Professional ที่มีหน้าจัดการกับคอมพิวเตอร์ 100 กว่าเครื่องก็ตามแต่คุณสามารถใช้ประโยชน์จากเครื่องมือเหล่านี้แบบฟรี ๆ ไปเลย

1. Website Down Check

เป็นเครื่องมือที่คล้ายกับ Spiceworks Website Down Checker ที่สามารถช่วยให้คุณเข้าใจว่าเว็บไหนกำลังเจอกับปัญหา หรือว่ามีโอกาสที่เกิดปัญหากับเน็ตเวิร์คของคุณได้อย่างรวดเร็ว เพียงแค่กรอก URL เพื่อดูถ้าหากเกิดปัญหาการเข้าถึงเว็บไซต์

แต่ถ้าหากต้องการที่จะเจาะลึกลงไปอีกเว็บไซต์ Isitdownrightnow.com ก็สามารถ monitor สถานะปัจจุบันของเว็บไซต์ที่มีชื่อเสียงเช่น Outlook.com, Gmail.com, Dropbox.com, YouTube, Facebook, และอื่น ๆ อีกมากมาย ถ้าหากเว็บของคุณไม่ได้ถูก Track โดยเครื่องมือคุณสามารถกรอก URL ตัวเองเพื่อดูสถานะปัจจุบันได้ User ยังสามารถรายงานเกี่ยวกับปัญหาของเว็บไซต์ที่คุณกำลังเจอเพื่อที่จะเข้าใจได้มากขึ้นว่ามันกำลังเกิดอะไรขึ้นใน service ของคุณ

2. Ping : Check Server Down

Ping เป็นซอฟแวร์ที่มีผู้ใช้งานอย่างกว้างขวางที่ช่วยเช็คว่าใช้เวลาเท่าไหร่ในการเข้าถึงเว็บไซต์ หรือเน็ตเวิร์คของคุณ และเข้าถึงได้หรือไม่ เพราะว่าเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไม่น่าเชื่อถือ และการส่งข้อมูลก็รับประกันไม่ได้ 100 เปอร์เซนต์ Ping ยังสามารถวัดปริมาณข้อมูลที่หายไปในการส่งข้อมูลกลับมายัง Device ที่คุณต้องการจะติดต่อ ฟังดูคุ้น ๆ มั้ย?? เพราะว่า ping เป็นคำสั่งที่ไว้ใช้เช็คว่าเว็บไซต์ในขณะนี้ล้มหรือไม่ อีกทั้งยังมีหน้า dashboard ไว้ตรวจจับการเคลื่อนไหวต่าง ๆ อีกด้วย

ทั้ง Windows และ Linux มาพร้อมกับแอพ Ping utility ที่ใช้ได้เหมือนกันโดยกรอกชื่อคอมพิวเตอร์ IP Address หรือว่า URL ของเว็บไซต์ที่ต้องการได้เช่นเดียวกันเพราะว่าแอพพลิเคชั่นที่ใช้งานอยู่บนคอมนั้น ping ก็สามารถเช็คความพร้อมใช้งานบนเน็ตเวิร์คได้

3. Traceroute

เครื่องมือนี้จะช่วยติดตามข้อมูลจากจุด A ไป B Traceroute สามารถใช้ได้ทั้ง Windows, OSX, และ Linux ถ้าใช้โปรแกรมนี้ก็จะสามารถตรวจสอบต้นสายปลายทางของกิจกรรมที่ทำไปตั้งแต่ออกจาก Routers ถึง เป้าหมายได้

ถ้าหากกำลังเจอกับปัญหาการเชื่อมต่อเครื่องมือชนิดนี้ก็สามารถระบุต้นเหตุของปัญหาว่ามันเกิดขึ้นจากที่ไหนได้ อีกทั้งยังสามารถแก้ไขความผิดพลาดจากตรงนั้นได้เลย

4. Network Monitoring Software

มีเหตุผลร้อยแปดพันเก้าที่สามารถทำให้เซิฟเวอร์ดาวน์ บางที่อาจจะเป้นที่เครื่องจักรหรือไม่ก็เป็นที่ระบบ OS หรือเซฟเวอร์ หากคุณคือ IT Professional ที่มีหน้าดูแล Server และเว็บไซต์หลาย ๆ ที่ด้วยกัน

การเช็ค Device หลาย ๆ สิบตัว หรือ เซิฟเวอร์ด้วยมือก็ตามเป็นเรื่องที่น่าเบื่อ และน่าปวดหัวเป็นอย่างยิ่ง ถ้ามีตัวใดตัวนึงเฟล คุณจะไม่รู้เลยจนกระทั่งมีคนเข้ามาในระบบ ซึ่ง Network Monitoring solution มีหน้า Dachboard ให้ดูแบบ real time กันเลยทีเดียว ทอีกทั้งยังสามารถตั้ง Trigger ให้มีการแจ้งเตือนหากมีปัญหาเกิดขึ้นได้อีกด้วย

Network Monitoring software ยังสามารถเซ็คค่า ping ได้อัตโนมัติ ถ้าเกิดว่าเซิฟเวอร์ หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ยังออนไลน์ และตอบสนอง อีกทั้งยังแสดงผลเกี่ยวกับค่าสถานะต่าง ๆ ของอุปกรณ์ หรือเซฟเวอร์ที่เชื่อมต่อบนหน้า dashboard อีกด้วย

นอกจากนี้ยังสามารถวัดค่า CPU เซิฟเวอร์ disk memory usage ค่า bandwidth และประสิทธิภาพของแอพพลิเคชั้นต่าง ๆ ตั้งค่า Rule alert ให้ส่งการแจ้งเตือนไปยังหลาย ๆ คนที่เกี่ยวข้องได้

5. Spiceworks Connectivity Dashboard

เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่น่าสนใจ นั่นก็คือ Spiceworks Connectivity Dashboard จะแสดงค่าสถานะของเซฟเวอร์ Service และเว็บไซต์โดยรวม รวมทั้งระบบอื่น ๆ ที่มันสามารถเข้าถึงได้

open source ที่ช่วยให้แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ไม่เพียงแค่ปัญหา critical server down เพียงเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงปัญหาการใช้งานที่ล่าช้าของ User อีกด้วย มี Dashboard ติดตั้งลงในระบบของ client มีการรายงานสถานะการเชื่อมต่อไปยังเซิร์ฟเวอร์บนคลาวด์ซึ่งจะอยู่บนหน้าแดชบอร์ดของอุปกรณ์และแอปพลิเคชันทั้งหมดของคุณ

Related products

Purichaya Narongpan

จบจาก Stamford International University (Hua Hin Campus) คณะ International Business Management – Bilingual Program ปัจจุบันทำงานด้าน Digital Marketing อยู่ที่ Ragnar Corporation อีกทั้งสนใจเรื่อง Cyber Security, Compliance และ Technology ต่าง ๆ จึงเขียนบทความเพื่อศึกษาหาข้อมูล และทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้

Similar tags

Pakawadee Chanhom

Ragnar Ecosystem คืออะไร?

ผลผลิตของเราที่ได้จากความชื่นชอบและการพัฒนา Cybersecurity ให้ครอบคลุมในประเทศไทย โดยเริ่มต้นที่การทำ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)

Read more...

“What is Cyber Attack?”

การโจมตีทางไซเบอร์ หรือ Cyber Attack คือ การใช้คอมพิวเตอร์ เข้าเชื่อต่อคอมพิวเตอร์อีกเครื่องนึง

Read more...
Purichaya Narongpan

3 แนวทางการใช้ Log Analytic Tools เพื่อการดำเนินงานที่ดีขึ้น

Log Analyzer คืออะไร ? Log Analyzer นั้นคือขบวนการที่จำเป็นสำหรับบุคคลที่เกี่ยวกับด้าน IT คนที่ดูแลระบบ (Admin)

Read more...