สัมมนาออนไลน์สำหรับองค์กรที่ต้องทำ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)

กิจกรรมภายในงาน

โดยภายในงานจะมีการบรรยายในหัวข้อน่าสนใจต่าง ๆ ตามเวลาดังนี้

  • 09:00 - 09:10 กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงาน โดยคุณสุรจิตต์
  • 09:10 - 09:45 กฎหมายอีกกี่ฉบับที่ต้องทำให้สำเร็จในปี 2563 และควรเริ่มอย่างไร ? โดยคุณวันพิชิต
  • 09:45 - 10:30 ความสำคัญและวิธีการสร้างความตระหนักรู้ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้กับทุกคนในองค์กรแบบสำเร็จ โดยคุณภัทราวุธ
  • 10:30 - 10:45 รับชมภาพบรรยากาศภายในงาน
  • 10:45 - 11:30 การตรวจสอบการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลพร้อมแนวทางการรับมือเหตุการณ์ข้อมูลรั่วไหลในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ (iLog PDPA Activity Tracking) โดยคุณวรรณศิริ และคุณกิตตินันท์
  • 11:30 - 12:00 การตรวจจับการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่ผิดปกติด้วย Machine Learning โดยคุณวันพิชิต และคุณอภิสิทธิ์

Speakers

งานสัมมนาออนไลน์สำหรับทุกองค์กรที่ต้องทำ PDPA

งานสัมมนาออนไลน์สำหรับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนที่ต้องการจะปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล แต่มีเวลาและทรัพยากรจำกัดได้เข้าใจระบบนิเวศของการทำ PDPA ให้สำเร็จ

ขณะนี้องค์กรในประเทศไทยได้มีความตระหนักรู้ถึงความจำเป็นในการทำปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอยู่แล้ว แต่ปัญหาที่สำคัญที่สุดของทุกองค์กรเวลานี้คือ "เวลาที่นับถอยหลัง"

Ragnar Corporation Co, Ltd. บริษัท แร็กน่าร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นบริษัทที่ก่อตั้งมาในรูปแบบ Startup เพื่อแก้ไขปัญหาด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ของประเทศไทยและเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ตอนนี้เราได้ทำการวิจัย

"ปัญหาของการปฏิบัติตาม ... คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลขององค์กรในประเทศไทย"

และพบปัญหาหลัก ๆ ดังนี้

  • องค์กรส่วนใหญ่มีทรัพยากรไม่พอ ทั้งบุคคลากร งบประมาณ และเวลา
  • องค์กรยังขาดองค์ความรู้ด้าน PDPA ทำให้ไม่เห็นภาพรวมทั้งหมด และไม่สามารถเริ่มต้นได้
  • องค์กรส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่า PDPA เป็นเรื่องของกระบวนการ (Process) อย่างเดียว
  • บุคคลากรระดับปฏิบัติงานที่ยุ่งเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลยังไม่ตระหนักถึงผลกระทบที่รุนแรง
  • หน้าที่รับผิดชอบของ DPO และตัวแทนของแต่ละแผนกยังไม่ถูกกำหนดหรือกำหนดไม่แน่ชัด
  • ค่าใช้จ่ายในการจ้างที่ปรึกษาดี ๆ นั้นสูง และมักใช้เวลาในการทำนานไม่ทันตามกำหนด

ข้อมูลดังกล่าวเกิดจากการเก็บรวบรวมโดยการเข้าไปทำ PDPA Consulting ให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนมากกว่า 15 แห่งตั้งแต่หน่วยงานที่มีบุคคลากรจำนวนไม่ถึงร้อยคน คนจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ที่มีบุคลากรมากกว่าหมื่นคนโดยใช้ PDPA Methodology 1.0 ที่พัฒนาขึ้นมาเป็น Framework หลักในการดำเนินงานจะมีทั้งหมด 12 ขั้นตอนดังนี้

PDPA Methodology 1.0 เนื้องานส่วนใหญ่จะเป็นงาน Service Consulting ทั้งในด้าน IT Consulting และ Legal Consulting ซึ่งมีระยะเวลาในการดำเนินงานที่นานประมาณ 3 - 6 เดือนต่อโครงการ ซึ่งเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอียดจากผลที่ได้มาจาก PDPA Methodology 1.0 นั้นยังมีความคล้ายคลึงกับการให้บริการที่มีอยู่แล้วในตลาด ซึ่งยังคงก่อให้เกิดปัญหาต่อเนื่องดังนี้

  • องค์ความรู้ยังติดอยู่ที่ "คน" แทนที่จะติดอยู่กับ "องค์กร" ทำให้เกิดปัญหาเมื่อมีการลาออก
  • การอบรมอย่างเดียวไม่สามารถปิดช่องว่างในการสื่อสารบุคลากรระดับปฏิบัติการได้สำเร็จ
  • กระบวนการในการทำซับซ้อนเกินความจำเป็น ทำให้องค์กรต้องพึ่งพาผู้ให้บริการอยู่เรื่อย ๆ
  • ขาดเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการจัดการการวางผังข้อมูล, การบริหารจัดการหนังสือยินยอม และอีกมา

จากปัญหาทั้งหมดที่กล่าวมาจึงทำให้เราเข้าใจว่า

"ปัญหาของการปฏิบัติตาม พ... คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลขององค์กรในประเทศไทย จะต้องแก้ด้วยระบบนิเวศไม่ใช่แค่บริการที่ปรึกษา"

นั่นหมายถึงว่าคุณไม่สามารถสำเร็จ PDPA ด้วยการแก้ไขอย่างใดอย่างหนึ่งใด แต่คุณต้องทำให้สำเร็จครอบคลุมทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นด้าน บุคลากร (People), กระบวนการความรู้ (Process) และ เทคโนโลยี (Technology)

เราพบว่าทั้งสามส่วนนี้สามารถแยกกันทำได้ หรือจะทำเป็นคู่กันก็ได้ แต่จะดีที่สุดหากได้ทำร่วมกัน เพราะหากคน เทคโนโลยี และกระบวนการความรู้ต่างคนต่างทำหน้าที่ของตนเอง เมื่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งสูญไปก็จะต้องศึกษาเริ่มต้นตั้งแต่ศูนย์กันใหม่ เช่นทรัพยากรมนุษย์ หากใช้งานโดด ๆ ก็คงทำงานด้วยความเร็วเท่าเดิม และเมื่อเจอปัญหาก็อาจแก้ไม่ได้หากไม่มีความรู้

แต่หากมีการใช้งานทั้งสองสิ่งร่วมกันความเร็วจะเพิ่มมากขึ้น หากทรัพยากรมนุษย์มีความรู้และกระบวนการ งานจะดำเนินไปอย่างเป็นระเบียบมากขึ้น และหากมนุษย์มีเทคโนโลยีช่วย ความรวดเร็วในการดำเนินงานก็จะมากขึ้นไปด้วยนั่นเอง

 

เพื่อสร้างความเข้าใจให้มากขึ้นในเรื่องนี้ รอรับชม live ทาง Facebook ได้ผ่าน https://www.facebook.com/ragnarcorp/ และ https://www.facebook.com/techtalkthai ในวันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2563 ตั้งแต่เวลา 9:00 - 12:15 น.

 

ดังนั้นการใช้ทุกอย่างเข้ารวมกันจะก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีและเร็วที่สุด นี่จึงเป็นที่มาของการสร้างระบบนิเวศ Ragnar's PDPA Ecosystem ซึ่งประกอบด้วย...

PDPAMethodology2.0(พีดีพีเอ เมธอโดโลจี ทูพ้อยต์โอ)

Framework ที่ออกแบบมาให้ลดระยะเวลาในการทำ PDPA ขององค์กรได้ถึง 300% โดยควบรวมกระบวนการที่ทำพร้อมกันได้รวมทั้งยังประหยัดงบประมาณมากกว่าตลาดถึง 40%

t-reg (ทีเร็ก)

Thailand Regulatory Platform แพลตฟอร์มสำหรับองค์กรเพื่อการปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของไทย เราสร้าง t-reg ขึ้นมาเพราะความเบื่อในการใช้งาน Solution แบบเดิมที่มีอยู่แล้วยังเจอปัญหาซ้ำซาก และเราเชื่อว่าไม่มีใครเข้าใจกฎหมายไทยได้ดีไปกว่าคนไทย

iLog PDPA (ไอล็อก พีดีพีเอ)

Intelligent Log for PDPA

เราพัฒนาระบบ Big Data Log Analytics ของเราให้ตอบโจทย์การทำ Data Breach Activity Tracking & Notificationจากที่ DPO ไม่สามารถมองเห็นกลายเป็น มองเห็นกิจกรรมการใช้ข้อมูลและการแจ้งเตือนเหตุการที่จำเป็นเพื่อช่วยในการตัดสินใจตอบสนองกับเหตุการต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม

P-CAP (พีแค็ป)

Privacy - Cybersecurity Awareness Platform

เราสร้าง P-CAP ขึ้นมาเพราะความสำเร็จของโครงการปลูกจิตสำนึกทางด้านความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลขึ้นอยู่กับ "คน" และความรู้เท่านั้นที่จะทำให้องค์กรในประเทศของเราปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่าง ถูกต้อง - รวดเร็ว - ประหยัดเวลา

ใครควรเข้างานสัมมนาออนไลน์นี้ ?

  • องค์กรภาครัฐและเอกชนที่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  • IT Consulting, Legal Consulting firm
  • System Integrator, Value Added Reseller
  • IT Director, IT Manager, DPO

ทั้งหมดนี้อยู่ภายใน live webinar ของเราผ่าน https://www.facebook.com/ragnarcorp/ และ https://www.facebook.com/techtalkthai ในวันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2563 ตั้งแต่เวลา 9:00 - 12:15 น.

เพื่อให้คุณเปลี่ยนจากความไม่รู้ สู่ความรู้ และเปลี่ยนความรู้ สู่ความเข้าใจที่แท้จริง

"คลิ๊กที่การ์ดด้านล่างเพื่อลงทะเบียนเข้าร่วมงาน"

Related products

Pakawadee Chanhom

Introvert / ศิลปศาสตร์ มธ. เอกภาษาไทย / รักภาษาไทย / สะกดทุกอย่างตามราชบัณฑิตยสถาน แต่ชอบใช้ภาษาวิบัติ

Similar tags

Apisit Anuntawan

การจัดการ Big Data (Spark)

Spark คือหนึ่งในเทคโนโลยีที่ใช้งานกับบิ๊กดาต้าที่ได้รับความนิยมสูง เนื่องจากใช้งานง่ายและยังเป็นแพลตฟอร์มที่เป็น Open Source ที่สามารถใช้งานได้

Read more...
Apisit Anuntawan

การจัดการ Big Data (Hadoop และ MapReduce)

ในการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่หรือ Big Data มักมีการใช้ระบบสถาปัตยกรรมแบบ Hadoop ในการจัดการข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นบริษัท Facebook หรือ eBay

Read more...
Pakawadee Chanhom

สัมมนาออนไลน์สำหรับองค์กรที่ต้องทำ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)

งานสัมมนาออนไลน์สำหรับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนที่ต้องการจะปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล แต่มีเวลาและทรัพยากรจำกัดในการทำ

Read more...