WannaCry & Petya กับการโจรกรรมทางไซเบอร์

เมื่อพฤษภาคม และมิถุนายน พ.ศ. 2560 การโจมตีทางไซเบอร์ Petya และ WannaCry ส่งผลกระทบต่อบริษัทเป็นวงกว้าง โดยรายงานจาก Lloyd’s of London กล่าวว่า Cyber – attack นั้นสามารถสร้างความเสียหายเท่ากับภัยบัติทางธรรมชาติเลยทีเดียว

Petrya และ WannaCry  เป็นหนึ่งในวิธีโจมตีทางไซเบอร์องค์กรให้เสียหายได้มหาศาล หากประเมินเป็นตัวเลขแล้วกว่า 6 พันล้านปอนด์

ยกตัวอย่าง บริษัท Neurofen manufacturers, Reckitt Benckiser สูญเสียเงินเป็นจำนวน 100 ล้านปอนด์ จากการโดนโจมตีทางไซเบอร์ บางบริษัทอย่าง Cadbury และ Oreo ก็เช่นเดียวกัน

ดังนั้น Cyber – attack จะเข้าไปเจาะข้อมูลซึ่งเป็นทรัพย์สินที่สำคัญเป็นอันดับแรก ๆ และสร้างความเสียหายให้กับองค์กรอย่างมาก โดยบทความนี้จะมาเสนอ หลักการทำงานของ Malware ทั้ง 2 ชนิดนี้ และวิธีการป้องกัน

การทำงานของ WannaCry and Petya

Petya และ WannaCry เป็นมัลแวร์เรียกค่าไถ่ หรือที่เรียกกันว่า Ransonware ด้วยการ

  • เข้าไปยืดคอมพิวเตอร์
  • ล็อคคอมพิวเตอร์ไม่ให้ใช้งาน

ผู้เชี่ยวชาญด้าน Cyber Security บางคนไม่เชื่อว่า Petya จะสามารถเรียกค่าไถ่ได้เพราะ มันยากที่จะจ่ายเงินให้กับ Hacker ได้ Ransomware จะโจมตี และเรียกค่าไถ่ได้ง่าย ๆ

แต่ยังงัยก็ตามมันถูกออกแบบให้สร้างความเสียหายแก่ระบบมากกว่าเรียกเงินจากผู้บริหารองค์กรอยู่แล้ว บางเหตุการณ์ก็ถูกทำให้เหมือนว่ามีการเรียกค่าไถ่เกิดขึ้น เพื่อให้รัฐบาลอัดฉีดงบประมาณ หรือให้เงินสนับสนุน

Malwareทั้ง 2 ชนิดนี้จะใช้ช่องโหว่ของระบบปฎิบัติการ Microsoft พวก windows XP และ windows 2003

ซึ่งระบบเดิมไม่ค่อยมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงด้านการรักษาความปลอดภัยซักเท่าไหร่ ปัญหาในรูปแบบของแพทช์ที่ช่วยให้ป้องกันการโจมตีที่อพเดทให้ช้าเกินไป พวก Hacker ก็มักจะใช้ประโยชน์จากข้อบกพร่องเหล่านี้

กันไว้ดีกว่าแก้

Malware ชนิดนี้มีความจำเป็นที่จะต้องใช้มาตรการทั้ง 2 อย่างเป็นตัวชี้วัด อัพเดทระบบปฎิบัติการเดิมเป็นประจำสม่ำเสมอเพื่มป้องภัยคุกคามใหม่ ๆ

และที่สำคัญควรจะให้ความรู้กับผู้ใช้งานในการป้องกันการแพร่กระจายมัลแวร์ชนิดต่าง ๆ ที่ชัดเจน พนักงานทุกคนควรรู้วิธีดู Email ที่มีความเสี่ยง การเรียกค่าไถ่ทางไซเบอร์โดยปกติผู้ใช้มักจะคลิกลิ้ง อีเมล หรือไฟล์แนบที่ไม่พึงประสงค์

มันเป็นไปได้ยากที่จะ Back -up ข้อมูลในต้องช่วงที่ถูกโจมตีได้ตลอดเวลา ซึ่งการป้องกันตัวเอง โดยใช้เครื่องมือ Cyber Security ช่วยทำงานแทนอย่างเป็นลำดับขั้นตอน ดังนี้

  • ซอฟแวร์ Anti – Virus ซึ่งที่สามารถอัพเดทได้อยู่ตลอด ๆ แนะนำให้เป็นซอฟแวร์บน Cloud จะเป็นตัวเลือกที่ดี
  • ซอฟแวร์  Anti – Spam ที่สามารถฟิลเตอร์ หรือบล็อกเมลขยะ ที่เคยมีความเสี่ยง
  • Firewalls ที่ช่วยป้องกันการเข้าถึงเครือข่ายโดยที่ไม่ได้รับอนุญาติ
  • อัพเดทแพทช์ให้เป็นปัจจุบันอยู่ตลอด
  • ติดตั้งระบบโดเมนไว้ป้องกันทุกอุปกรณ์ เช่นโทรศัพท์ แท็บเล็ต จากอันตรายทางไซเบอร์
  • เลือกแอพพลิเคชั้นที่สามารถจัดการกับภัยคุกคามครบวงจร

หากผู้ใช้งานมีหลาย Account ไม่ควรใช้ Password เดียวกันเพราะ ถ้า Hacker รู้รหัสแล้วจะสามารถเข้าถึงบัญชี อื่น ๆ ได้อย่างง่ายดาย

หา Solution ที่ช่วยลบบัญชีเก่า ๆ จะทำให้ระบบปลอดภัยมากขึ้น จำกัดการเข้าถึงเครือข่ายของผู้ใช้งานก็จะช่วยได้เช่นเดียวกัน

ไม่มีใครล่วงรู้ได้หลอกว่าจะโดน Hack เมื่อไหร่ ดังนั้นเป็นเรื่องที่เร่งด่วนในการทำทุกขั้นตอนที่กล่าวมาให้เร็วที่สุด เพราะฉะนั้นกันไว้ดีกว่าแก้

ไม่ว่าบริษัทใหญ่ หรือเล็กก็ต้องป้องกันตัวเองจากภัยคุกคามต่าง ๆ ซึ่งในรายงานของ the Federation of Small Businesses พบว่ามีภัยคุกคามทางไซเบอร์กว่า 19,000 ครั้งก่อกวนบริษัทกิจขนาดเล็กในอังกฤษทุกวัน ในปัจจุบันนี้มีการโจมตีไซเบอร์เพิ่มเป้นทวีคุณ และ Automate มากขึ้นนั้นเอง

Related products

Purichaya Narongpan

จบจาก Stamford International University (Hua Hin Campus) คณะ International Business Management – Bilingual Program ปัจจุบันทำงานด้าน Digital Marketing อยู่ที่ Ragnar Corporation อีกทั้งสนใจเรื่อง Cyber Security, Compliance และ Technology ต่าง ๆ จึงเขียนบทความเพื่อศึกษาหาข้อมูล และทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้

Similar tags

Apisit Anuntawan

การจัดการ Big Data (Spark)

Spark คือหนึ่งในเทคโนโลยีที่ใช้งานกับบิ๊กดาต้าที่ได้รับความนิยมสูง เนื่องจากใช้งานง่ายและยังเป็นแพลตฟอร์มที่เป็น Open Source ที่สามารถใช้งานได้

Read more...
Apisit Anuntawan

การจัดการ Big Data (Hadoop และ MapReduce)

ในการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่หรือ Big Data มักมีการใช้ระบบสถาปัตยกรรมแบบ Hadoop ในการจัดการข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นบริษัท Facebook หรือ eBay

Read more...
Pakawadee Chanhom

Ragnar Ecosystem คืออะไร?

ผลผลิตของเราที่ได้จากความชื่นชอบและการพัฒนา Cybersecurity ให้ครอบคลุมในประเทศไทย โดยเริ่มต้นที่การทำ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)

Read more...