สรุป พรบ ข้อมูลส่วนบุคคล

ข้อมูลส่วนตัวรวมทั้งข้อมูลการใช้งานของ User ถ้าหากเก็บรวบรวมดี ๆ จะมีมูลค่ามหาศาล เพราะว่าองค์กร หรือบริษัทที่เก็บข้อมูลเหล่านี้สามารถนำข้อมูลผู้ใช้งานมาวิเคราะห์เพื่อนำมาสื่อสารทางการตลาด ซึ่งจะช่วยเพิ่มยอดขายสินค้า และบริการเป็นอย่างมาก แน่นอนว่า พ.ร.บ. ข้อมูลส่วนบุคคล ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ

ส่วนผู้ประกอบการณ์ที่ต้องเก็บข้อมูลส่วนบุคคลไม่ว่าจะเป็น ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ จะต้องระมัดระวังมากขึ้นหากจะนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้

ซึ่ง 27 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ผ่านการพิจารณา และเริ่มบังคับใช้ภายในปีหน้า

ในบทความนี้ iLog.ai จะมาสรุปกฎหมายคุ้มครองข้อมูลว่าภาคธุรกิจที่ต้องการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลนั้นจะต้องทำอย่างไรบ้าง ปกป้องข้อมูลส่วนตัวอย่างไรบ้าง  สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนตัวว่ามีอะไรบ้าง

องค์กรที่ต้องการเก็บข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานนั้นสิ่งที่จำเป็นต้องทำมีดังนี้

  • วัตถุประสงค์ของการเก็บข้อมูลส่วนตัว
  • บอกถึงความจำเป็นที่ต้องเก็บข้อมูลส่วนตัวเมื่อต้องทำสัญญารวมถึงผลกระทบหากไม่ให้ข้อมูล
  • บอกระยะเวลาที่ต้องเก็บข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานให้ชัดเจน
  • บอกว่าจะนำข้อมูลส่วนตัวไปใช้ทำอะไร ที่ไหน และอย่างไร
  • ระบุข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร สถานที่ติดต่อ และวิธีการติดต่อหา
  • แจ้งสิทธิของผู้ใช้งาน หรือลูกที่ต้องให้ข้อมูลส่วนตัว

หมายเหตุ ห้ามให้องค์กรใด ๆ ก็แล้วแต่เก็บข้อมูลส่วนตัวจากแหล่งที่มาอื่นไม่ใช่เจ้าของข้อมูลโดยตรง

สิทธิของเจ้าของข้อมูลนั้นสามารถเข้าถึง และขอรับสำเนาข้อมูลที่อยู่ในความรับผิดชอบขององค์กร (เว้นแต่ว่าหากเป็นคำสั่งของศาล หรือทำให้เกิดผลกระทบต่อบุคคลอื่นก็สามารถปฏิเสธได้)

โดยองค์กรจะต้องดำเนินการตามคำขอภายใน 30 วัน

นอกจากนี้ยังสามารถคัดค้านการเก็บข้อมูลได้ก็ต่อเมื่อจุดประสงค์เกี่ยวกับการตลาดแบบตรง การศึกษาวิจัยต่าง ๆ

เจ้าของข้อมูลสามารถให้องค์กรลบข้อมูลได้เมื่อ

  • ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเก็บข้อมูล
  • ถอนความยินยอม หรือคัดค้านการเก็บข้อมูลส่วนตัว
  • หากไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ดังนั้นองค์กรที่ต้องเก็บข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานจะต้องมีหน้าที่ดังนี้

  1. จัดมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมูลสูญหาย เข้าถึง และเปลี่ยนแปลงได้
  2. จะต้องดำเนินการป้องไม่ให้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลหากมีบริษัทหรือองค์กรมาขอข้อมูลส่วนตัว
  3. เมื่อพ้นกำหนดของการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลแล้วจะต้องมีระบบการตรวจสอบเพื่อที่จะทำลาย หรือลบข้อมูล
  4. หากมีเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องแจ้งสำนักงานภายใน 72 ช.ม.
  5. หากบริษัท หรือองค์กรอยู่ต่างประเทศจะต้องมีตัวแทนขององค์กรในประเทศด้วย

ประโยคที่ว่า Data is a w oil ในปัจจุบันนี้ก็คงไม่ผิดเพราะข้อมูลจราจรผู้ใช้งานไม่ว่าจะเป็นพนักงานในองค์กร หรือว่าลูกค้าก็ตาม สามารถนำข้อมูลเหล่ามาวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้สินค้า และบริการเพื่อเป้าหมายทางการตลาด

ดังนั้นถึงแม้กฎหมายฉบับนี้จะบังคับใช้ในปีหน้า แต่องค์กรที่ต้องเก็บข้อมูลส่วนบุคคลควรที่จะเข้าใจ และรู้ก่อนที่จะเริ่มบังคับใช้นั่นเอง

Related products

Purichaya Narongpan

จบจาก Stamford International University (Hua Hin Campus) คณะ International Business Management – Bilingual Program ปัจจุบันทำงานด้าน Digital Marketing อยู่ที่ Ragnar Corporation อีกทั้งสนใจเรื่อง Cyber Security, Compliance และ Technology ต่าง ๆ จึงเขียนบทความเพื่อศึกษาหาข้อมูล และทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้

Similar tags

Pakawadee Chanhom

Ragnar Ecosystem คืออะไร?

ผลผลิตของเราที่ได้จากความชื่นชอบและการพัฒนา Cybersecurity ให้ครอบคลุมในประเทศไทย โดยเริ่มต้นที่การทำ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)

Read more...
Pakawadee Chanhom

สัมมนาออนไลน์สำหรับองค์กรที่ต้องทำ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)

งานสัมมนาออนไลน์สำหรับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนที่ต้องการจะปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล แต่มีเวลาและทรัพยากรจำกัดในการทำ

Read more...
Purichaya Narongpan

3 แนวทางการใช้ Log Analytic Tools เพื่อการดำเนินงานที่ดีขึ้น

Log Analyzer คืออะไร ? Log Analyzer นั้นคือขบวนการที่จำเป็นสำหรับบุคคลที่เกี่ยวกับด้าน IT คนที่ดูแลระบบ (Admin)

Read more...